สมดุลเคมี




สมดุลเคมี (Chemical equilibrium)

สมดุลเคมี (Chemical equilibrium) คือสภาวะที่ความเข้มข้นของสารตั้งต้นและสารผลิตภัณฑ์ไม่เปลี่ยนแปลงอีกแม้เวลาผ่านไป เราจะเรียกว่าปฏิกิริยาเคมีนั้นอยู่ในสมดุล (equilibrium)




กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์มี  3  รูปแบบ  คือ  การเปลี่ยนสถานะ  การละลาย  และการเกิดปฏิกิริยาเคมี  จำแนกเป็น  2  ลักษณะคือ

  1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางเดียวไม่ย้อนกลับ  (Inreversible reaction) หมายถึงเมื่อสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นอีกสิ่งหนึ่งแล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาสู่ภาวะเดิมได้โดยทันที                                                                                                            
  1. การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้หรือย้อนกลับได้ (Reversible reaction) มีลักษณะที่สำคัญคือเมื่อสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งใหม่แล้ว  สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นก็สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นสิ่งเดิมได้ทันที การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้จะเกิดภาวะสมดุลขึ้นได้
          


💬 ภาวะสมดุล ( Equilibrium state )   

    คือ ภาวะของระบบที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงย้อนกลับที่สมดุลจะมีสารตั้งต้นทุกชนิดเหลืออยู่ และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นทุกชนิดคงที่ ภาวะสมดุลจะเกิดกับระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง


 💬 สมบัติของระบบ  ณ ภาวะสมดุล

        1.ต้องเป็นปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ โดยต้องเกิดในระบบปิด

        2.มีปฏิกิริยาไปข้างหน้าและย้อนกลับเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยจำนวนโมลของสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์คงที่แต่อาจเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้  และอัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าเท่ากับปฏิริยาย้อนกลับ

        3.สมบัติของระบบคงที่ (จำนวนโมล,สีของสาร,ความดันและอุณหภูมิคงที่)


💬 ภาวะสมดุลระหว่างสถานะ 

    สารต่างๆสามารถเปลี่ยนสถานะได้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานควบคู่ไปด้วย  ดังแผนภาพนี้


    ที่ภาวะสมดุลของปฏิกิริยาเคมีระบบยังไม่ได้หยุดนิ่ง ยังมีทั้งการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า และเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับตลอดเวลาโดยเกิดในอัตราที่เท่ากัน เรียกภาวะสมดุลนี้ว่า ภาวะสมดุลไดนามิก


💬 สมดุลไดนามิก  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

    1.สมดุลเนื้อเดียวกัน (Homogeneous Chemical Equilibrium) เป็นสมดุลที่มีสารทุกชนิดอยู่ในสถานะเดียวกันหมด

    2.สมดุลเคมีมีเนื้อผสม (Heterogeneous Chemical Equilibrium) เป็นสมดุลที่มีสารต่างๆมากกว่า 2 สถานะอยู่ในระบบเดียวกันหมด


💬 กราฟของสมดุลเคมี 

    1.กราฟระหว่างอัตราการเกิดปฏิกิริยากับเวลา

  • อัตราการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้า = อัตราการเกิดปฏิกิริยาย้อนกลับ

    ที่มา : https://bit.ly/38XujBl

    2.กราฟระหว่างความเข้มข้นของสารกับเวลา

  • สารตั้งต้น มากกว่า ผลิตภัณฑ์

ที่มา : https://bit.ly/3ntMAPn


  • สารตั้งต้น น้อยกว่า ผลิตภัณฑ์


ที่มา : https://bit.ly/3nCGnRh

  • สารตั้งต้น เท่ากับ ผลิตภัณฑ์


ที่มา : https://bit.ly/392lkyV

💬 ค่าคงที่สมดุล 

    ปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ ที่ภาวะสมดุล ผลคูณของความเข้มข้นของสารผลิตภัณฑ์ เมื่อหารด้วยผลคูณของความเข้มข้นของสารตั้งต้นที่เหลือ โดยที่ความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดยกกำลังด้วยเลขสัมประสิทธิ์บอกจำ นวนโมลของสารในสมการที่ดุลแล้วจะมีค่าคงที่เสมอเมื่ออุณหภูมิคงที่

    กำหนดให้สมดุลปฏิกิริยาเป็น aA + bB ⇌ cC + dD

ที่มา : https://bit.ly/3C1tRyr

   💬 ค่าคงที่สมดุลกับสมการเคมี 





    💬 ขั้นตอนการหาค่าคงที่สมดุล 

        1. เขียนสมการเคมี

        2. ดุลสมการเคมี

        3. ณ จุดสมดุล หาความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์

        4. ณ จุดสมดุล หาความเข้มข้นของ สารตั้งต้นที่เหลือ

        5. เขียนค่า K และแทนค่าความเข้มข้น ของสารผลิตภัณฑ์ และสารตั้งต้นลงในสมการค่า K


💬 ผลของการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น ความดันและอุณหภูมิ

  • การเพิ่มหรือลดความเข้มข้นของสารหนึ่งสารใดในปฏิกิริยาเคมี เป็นเหตุให้ภาวะสมดุลเปลี่ยนไป แต่ค่าคงที่สมดุลยังคงเดิม 
  • ถ้าความดันของระบบเพิ่มขึ้น สมดุลจะเลื่อนไปทางฝ่ายที่มีจำนวนโมลน้อย * ในกรณีที่โมลเท่ากัน ความดันจะไม่มีผลต่อสมดุล *
  • ผลของการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีต่อภาวะสมดุล จะเกิดสมดุลปฏิกิริยาคายความร้อน หรือสมดุลปฏิกิริยาดูดความร้อน


💬 หลักของเลอชาเตอลิเอ



    หลักเลอชาเตอลิเอเป็นของนักวิทยาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อ อองรี-ลุย เลอชาเตอลิเอได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภาวะสมดุลของปฏิกิริยาต่าง ๆ และได้ข้อสรุปในปี พ.ศ.2427 (ค.ศ.1884) ว่า เมื่่อระบบที่อยู่ในสภาวะสมดุลจะถูกรบกวนโดยการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสมดุลอีกครั้ง

👀การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น
        การเปลี่ยนความเข้มข้นของสารทำได้โดยเพิ่ม เติม สารใดสารหนึ่งลงไปในระบบอรก หรือเอาสารนั้นออกจากระบบ 
  • เพิ่มความเข้มข้น ไปในทิศทางที่จะลดความเข้มข้น
  • ลดความเข้มข้น ไปในทิศทางที่จะเพิ่มความเข้มข้น
  • ระบบจะเข้าสู่สมดุลใหม่อีกครั้ง  สมบัติจะต่างไปจากเดิม



👀การเปลี่ยนแปลงความดันของระบบ
             ระบบจะเปลี่ยนภาวะสมดุลไปเมื่อเพิ่มหรือลดความดันได้นั้น สารในระบบนั้นต้องอยู่ในภาวะก๊าซ ถ้าระบบนั้นไม่มีก๊าซอยู่ในปฏิกิริยา การเพิ่มหรือลดความดันจะไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
  • เพิ่มความดัน หรือลดปริมาตร ไปในทิศทางที่มีจำนวนโมลก๊าซน้อยกว่า
  • ลดความดัน ไปทางจำนวนโมลก๊าซมากกว่า
  • จำนวนโมลของก๊าซสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์เท่ากัน ไม่มีผลต่อภาวะสมดุล
👀การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของระบบ
          ระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปภาวะสมดุลจะเปลี่ยนไป และมีผลทำให้ค่าคงที่สมดุล (K) เปลี่ยนไปด้วย 
  • ปฏิกิริยาดูดความร้อน   จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น
  • ปฏิกิริยาคายความร้อน  จะเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าได้ดีเมื่ออุณหภูมิลดลง

💬 การใช้หลักของเลอชาเตอลิเอในอุตสาหกรรม 


    หลักของเลชาเตอลิเย ใช้ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด โดยใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อความประหยัดเวลาและเงินลงทุนโดยพิจารณาจากความดันและอุณหภูมิ ว่ามีผลต่อผลิตภัณฑ์อย่างไรและสามารถนำไปใช้ได้อย่างไร เช่น การผลิตก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ เพชรสังเคราะห์

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่







                 https://tuemaster.com/blog/

ความคิดเห็น