การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ


 


โครงสร้างและการทำงานของระบบ ลำเลียงสารของพืช ประกอบด้วยระบบท่อลำเลียง ที่ทำหน้าที่ลำขนส่งน้ำและแร่ธาตุจากรากส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 

   น้ำในดินเคลื่อนที่เข้าสู่รากได้โดยกระบวนการ osmosis ส่วนแร่ธาตุที่อยู่ในรูปสารละลายผ่านเข้าสู่รากได้ โดยกระบวนการแพร่และactive transport เมื่อน้ำและแร่ธาตุผ่านเข้าสู่ภายในเซลล์ขนรากแล้ว น้ำจะออสโมซีสจากเซลล์ขนรากไปยังเซลล์รากที่อยู่ติดกันไปเรื่อย ๆ จนถึงท่อลำเลียงที่เรียกว่า xylem น้ำและแร่ธาตุจะถูกส่งไปตามไซเล็มไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช



 🌺การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุของพืช แบ่งได้เป็น 3 ช่วง  คือ

  1. การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ราก
  2. การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารเข้าสู่ไซเล็ม
  3. การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารภายในไซเล็ม

    การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ราก

  การลำเลียงน้ำ  

        สารละลายในดินจะมีความเข้มข้นที่ต่ำกว่าสารละลายในเซลล์ขนราก ทำให้น้ำสามารถเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ขนรากโดย "ออสโมซิส"  เป็นการเคลื่อนที่ของน้ำจากสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำ (น้ำมาก)  ไปยังสารละลายที่มีความเข้มข้นสูง (น้ำน้อย)

การลำเลียงธาตุอาหาร 

        แร่ธาตุในดินจะเข้าสู่รากพืชได้โดยการลำเลียงแบบใช้พลังงาน หรือ "Active transport" เป็นการลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกว่า โดยการใช้พลังงาน คือ ATP และต้องอาศัยโปรตีนเป็นตัวพา

    การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารเข้าสู่ไซเล็ม

    เมื่อน้ำและแร่ธาตุได้ลำเลียงเข้าสู่รากของพืชแล้ว  จากนั้นพืชก็จะมีการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากชั้นคอร์เทกซ์เข้าสู่ไซเล็ม โดยมีทั้งหมด 3 แบบ 

     1. Simplast      

            เป็นการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่ง โดยผ่านทางไซโทพลาซึมที่เชื่อมต่อกัน และทะลุไปอีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านทาง "พลาสโมเดสมาตา" (Plasmodesmata)  เมื่อถึงเอนโดเดอร์มิสก็ยังคงลำเลียงผ่านพลาสโมเดสมาตาและเข้าสู่ไซเล็มได้

   

     2. Transmembrane 

            เป็นการลำเลียงจากเซลล์หนึ่งไปสู่อีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านทางเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งจะสามารถลำเลียงผ่านเอนโดเดอร์มิสและเข้าสู่ไซเล็มได้


      3. Apoplast 

            เป็นการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารที่ไม่ผ่านเข้าสู่เซลล์  โดยจะลำเลียงผ่านช่องว่างระหว่างเซลล์หรือลำเลียงไปตามผนังเซลล์ เมื่อถึงเอนโดเดอร์มิสจะไม่สามารถลำเลียงต่อไปได้  เนื่องจากเอนโดเดอร์มิสมี แถบแคสพเรียน (Casparian trip)   ซึ่งมีสารพวกซูเบอริน สามารถกันน้ำได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนการลำเลียงไปเป็นแบบซิมพลาสต์ หรือทรานส์เมมเบรน




    การลำเลียงน้ำและธาตุอาหารเข้าสู่ไซเล็ม

        พืชสามารถลำเลียงน้ำภายในไซเล็มจากรากขึ้นสู่ใบและยอด โดยอาศัยแรงที่ช่วยในการลำเลียงขึ้นสู่ด้านบน ดังนี้

      1. Capillary action 

                เกิดเนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลของน้ำ หรือแรงโคฮีชัน  และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้ำกับผนังเซลล์ของไซเล็ม หรือแรงแอดฮีชัน


      2. Transpiration pull 

                  แรงดึงจากการคายน้ำ ซึ่งพืชใช้แรงนี้เป็นหลักในการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ เมื่อพืชคายน้ำออกทางปากใบ ทำให้เกิดแรงดึงในท่อไซเล็มซึ่งจะดึงน้ำขึ้นสู่ลำต้นและใบ  และโมเลกุลของน้ำมีแรงโคฮีชัน เป็นแรงยึดเหนี่ยวกันระหว่างโมเลกุลของน้ำ ทำให้การไหลของน้ำในท่อไซเลมจึงต่อเนื่องกัน พืชจึงสามารถลำเลียงน้ำและแร่ธาตุขึ้นที่สูงได้

      3. Root pressure 

            ในสภาวะที่พืชไม่มีการคายน้ำ และน้ำในดินมีมากพอและยังคงมีการเคลื่อนที่เข้าสู่รากพืชอยู่ จะทำให้น้ำในรากมีมากขึ้นจนเกิดแรงดันของมวลน้ำภายในราก หรือ แรงดันราก  ทำให้สามารถดันน้ำไหลขึ้นด้านบนไปตามไซเล็มได้
          นอกจากนี้ในสภาวะที่ไม่มีการคายน้ำ และมีแรงดันราก อาจทำให้เกิด กัตเตชัน (guttation) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเป็นหยดน้ำผ่านออกมาทางรูหยาดน้ำ หรือ ไฮดาโทด (hydathode)






แหล่งที่มา 

ความคิดเห็น